วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

พระแม่อุมาเทวี

พระอุมาเทวี




            พระอุมาเทวี (เทวนาครี) หรือพระศรีมหาอุมา หรือ ปาร วตี เป็นธิดาของท้าวหิมวัตและพระนางเมนกา พระอุมาเป็นชายาขององค์พระศิวะบรมเทพแห่งสวรรค์ มีพระโอรส 2 พระองค์ คือ พระบรมเทพขันทกุมาร ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการสงคราม และ พระบรมเทพศรีมหาคเนศ ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการขจัดอุปสรรคทั้งมวล พระอุมานั้นทรงมีหลายปางด้วยกันแต่ปางที่เป็นที่รู้จักมากคือ
ปางพระแม่กาลี (พะนางกรีกกาลราตรี) โดยมีลักษณะดังนี้ มี 10 พระกร ถืออาวุธครบมือ แลบลิ้นยาวถึงทรวงอก เครื่องประดับเป็นหัวกระโหลก สังวาลเป็นงูมีลักษณะดุร้าย
พระศรีมหาทุรคาเทวีโดย มีลักษณะดังนี้ มี 8 ถึง 12 พระกร ลักษณะดุทรงเสื้อ เทศกาลที่มีการบูชาพะอุมาคือเทศกาลนวราตรีคุเซราห์
          บางตำนานกล่าวว่า พระอุมา เดิมกำเนิดในร่างมนุษย์ นามว่า สตี เป็นธิดาของพระทักษะประชาบดี มีพระขนิษฐาพระนามว่าพระคงคา ได้เป็นชายาของพระศิวะ ที่ทรงอวตารลงมาในภาคของมุนีภพ ไว้ผมหนวดเครารุงรัง นำกระดูกมาร้อยเป็นสังวาลสวมคอ นอนตามป่าช้า มีกลิ่นตัวเหม็นสาบ เป็นที่รังเกียจของพระทักษะ แต่ด้วยบารมีของพระนางสตี จึงมองเห็นรูปกายที่แท้จริงว่าพระมุนีองค์นี้ ว่าเป็นภาคหนึ่งขององค์พระศิวะ

 

       ด้วยความรังเกียจ พระทักษะประชาบดี จึงได้ลบหลู่เกียรติของพระศิวะในงานพิธี พระนางสตีจึงทรงเข้าตบะเพื่อขับเพลิงออกมาจากร่าง เพื่อสังหารพระองค์เอง (บางตำรากล่าวว่า พระนางกระโดดเข้ากองไฟ) ด้วยความพิโรธ พระศิวะทรงส่งอสูรชื่อ วีรภัทร ไปทำลายงานพิธี และตัดศีรษะพระทักษะประชาบดี ต่อคืนด้วยหัวแพะที่ใช้บูชายัญในพิธีนั้น พระศิวะทรงเศร้าโศกเสียใจด้วยความรักที่มีต่อพระนางสตี จึงทรงทรงพาร่างของพระนางสตีออกไปจนสุดจักรวาล และบำเพ็ญพรตบารมีอยู่เป็นเวลานาน ต่อมาพระนางได้กลับมาเกิดเป็นธิดาของท้าวหิมวัตและพระนางเมนกา และเป็นชายาของพระศิวะอีกครั้ง ในร่างของพระอุมาเมวี (ปารวตี)
        ชาวอินเดียที่นับถือพระศิวะ และพระอุมา มีพิธีกรรมที่เรียกว่า สตี เมื่อสามีเสียชีวิต ภรรยาจะฆ่าตัวตายตามโดยกระโดดเข้ากองไฟ เพื่อบูชาความรักและการเสียสละของพระนางสตี ที่มีต่อพระศิวะ ในบางครั้งภรรยาของผู้ตายไม่ยินยอมเข้าพิธีสตี ก็ยังถูกญาติพี่น้องของสามี บังคับให้เผาตัวตายตาม พิธีบูชายัญนี้ถูกระงับไปเมื่ออินเดียตกอยู่ในการปกครองของอังกฤษ ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18

พระสุหัสวดี

        พระสุหัสวดี





                      พระสุรัสวดีได้รับคำพรรณนาว่า สุนทรมาก ผิวขาวนวล แต่งกายด้วยชุดสีขาวสว่าง ประทับอยู่บนดอกปัทมาสีขาว(บัวขาว) บนหงส์หรือนกยูง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความจริงที่บริสุทธิ์ ส่วนใหญ่พระนางจะมีเครื่องทรงสีขาว เพราะสีขาวคือสัญลักษณของปัญญาที่บริสุทธิ์และแท้จริง และไม่โปรดเครื่องประดับหรือเพชรพลอยเหมือนพระลักษมี พระนางมีครื่องทรงสีเหลืองในฤดูใบไม้ผลิซึ่งไม่ใหญ่โตโอ่อ่านักใส่ในเทศกาลของพระนาง "เทศกาลวสันตปัญจมี" พระสุรัสวดีมี ๔ พระพาหุ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของนิสัย ๔ ด้าน ของมนุษย์ได้แก่ จิต ปัญญา ความระมัดระวัง และอัตตา ในส่วนมากรูปลักษณ์ที่ปรากฏแห่งพระสุรัสวดีนั้นโดยที่เห็นในทั่วไปนั้นในแต่ละพระกรของพระนางนั้นจะทรง ประคำ คัมภีร์ และอีก 2 พระกรที่เหลือจะทรงดีดวีณา(เครื่องดนตรีของอินเดียชนิดหนึ่ง)เสมอ พระนาง Saraswathi เป็นเทพธิดาสำหรับความรู้และภูมิปัญญของชาวฮินดู ถือเป็นตัวตนของความรู้ทั้งหมด เช่น ศิลปะ วิทยาศาสตร์ และทักษะอื่น ๆ พระนาง Saraswathi เป็นมเหสีของพระพรหม ชื่อสรัสวดีมาจากคำว่า "Saras" ซึ่งหมายถึงการไหล และ "wati" ซึ่งหมายถึงผู้หญิง ชื่อ "สุรัสวดี" จึงเป็นสัญลักษณ์ของความรู้ว่าไหลเหมือนแม่น้ำ และความรู้เป็นเสน่ห์อย่างสูงสุดของหญิงงาม เทพธิดา Saraswati ถือเป็น "มารดาแห่งพระเวท" เหล่าสาวกจะทำพิธี Sarawathi Pooja ทุกปีเพื่อขอพรให้ประสบความสำเร็จและเจริญรุ่งเรือง

พระลักษมี

พระลักษมี



              พระลักษมี  หรือ พระมหาลักษมี เป็นเทพีในศาสนาฮินดู โดยเป็นเทพีแห่งความร่ำรวย โชคชะตา ความรัก ความงาม ดอกบัว และความอุดมสมบูรณ์ รูปเคารพของพระแม่ลักษมีนั้นนอกจากจะพบในศาสนสถานของศาสนาฮินดูแล้ว ยังพบในศาสนสถานของศาสนาเชนและศาสนาพุทธ ในบางแห่งอีกด้วย พระลักษมีนั้นมีความคล้ายคลึงกันกับเทพีของกรีกองค์หนึ่ง คือเทพีอะโฟร์ดิตี้โดยที่เทพีทั้งสองนี้ ถือกำเนิดจากมหาสมุทรเหมือนกัน และเป็นตัวแทนของความสวยงามเหมือนกันอีกด้วย นอกจากนั้น พระแม่ลักษมี มีกำเนิดจากฟองน้ำ ในคราวเทวดาและอสูร กวนเกษียรสมุทร ทำน้ำอมฤต จึงได้นามว่า ชลธิชา (เกิดแต่น้ำ) หรือ กษีราพธิตนยา(พระธิดาแห่งพระสมุทร) ในขณะที่ผุดขึ้นมานั้นนั่งมาในดอกบัวและมือถือดอกบัวด้วย จึงมีอีกนามหนึ่งว่า ปัทมา หรือ กมลา แต่ในคัมภีร์วิษณุปุราณะจะกล่าวไว้ว่า พระแม่ลักษมีเป็นธิดาของพระฤๅษีภฤคุกับนางขยาติ และยังกล่าวต่อไปอีกว่าพระแม่ลักษมีเป็นมารดา พระกามเทพด้วย



            พระแม่ลักษมี ผู้ศรัทธาจะถือกันว่าเป็น เทพนารีผู้อำนวยโชค มีน้ำพระทัยเมตตาปราณีอยู่เป็นนิจ เป็นตัวอย่างแห่งนางที่งามตลอดทั้งรูปและกิริยามารยาท มีวาจาเปี่ยมด้วยเสน่ห์และไพเราะ ทั้งถือกันว่าเป็นผู้นำมาซึ่งความเจริญทุกประการ นับกันว่าเป็นผู้อุปถัมภ์บรรดาสตรีทุกชั้น ส่วนรูปมักเขียนเป็นสตรีที่งามยิ่งมี 2 กรอย่างธรรมดา (บางแห่งก็ว่ามี 4 กร) สีกายเป็นสีทองเสื้อทรงสีเหลือง นั่งหรือยืนบนดอกบัวและมือถือดอกบัว
            พระแม่ลักษมี เป็นชายาของ พระวิษณุ เมื่อพระวิษณุได้อวตารเป็นพระราม พระแม่ลักษมีก็ได้อวตารตามไปเป็นนางสีดา และเมื่อพระวิษณุอวตารเป็นพระกฤษณะ ในปางกฤษณาวตาร พระวิษณุอวตารเป็น พระกฤษณะ พระแม่ลักษมีก็ไปเป็น พระนางรุกมิณี หรือ พระนางราธาเทวี ในปางปรศุรามาวตารก็ไปอวตารเป็น พระแม่ธรณี ในปางวามนาวตารก็อวตารไปเป็น พระนางกมลา เป็นต้น
             คติความเชื่อถือเกี่ยวกับพระแม่ลักษมีในเมืองไทยอาจเห็นว่า ไม่พบมากนักนอกจากปรากฏในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ที่เสด็จอวตารลงมาเป็นนางสีดาในรามาวตาร ซึ่งเป็นชนวนเหตุของการรบ ระหว่างทศกัณฐ์ กับพระราม นอกจากนั้นก็ไม่พบได้เด่นชัดนัก

เจ้าแม่กวมอิม

    เจ้าแม่กวมอิม
     


         พระโพธิสัตว์กวนอิม (ประสูติ 19 เดือนยี่จีน) ชาติสุดท้ายเป็น ราชธิดานาม เมี่ยวซ่าน เดิมเป็นเทพธิดา จุติลงมายังโลกมนุษย์เพื่อมาช่วยปลดเปลื้องทุกข์ภัยแก่มวลมนุษย์ เป็นราชธิดาองค์สุดท้ายของกษัตริย์ เมี่ยวจวง และ ของ พระนางเซี่ยวหลิน ซึ่งมีพระราชธิดา 3 พระองค์ องค์โตชื่อ เมี่ยวอิม องค์รองชื่อ เมี่ยวหยวน เยาว์วัย เจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน เป็นพุทธมามกะ รู้แจ้งในหลักธรรมลึกซึ้ง ตั้งพระทัยแน่วแน่จะบำเพ็ญภาวนา เพื่อหลุดพ้นสังสารวัฏ ออกบวชวันที่ 19 เดือน 9 พระเจ้าเมี่ยวจวงไม่เห็นด้วย จะบังคับให้เลือกราชบุตรเขย เพื่อจะได้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อไป แต่เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านไม่สนพระทัยเรื่องลาภ ยศ สรรเสริญ อันจอมปลอม แม้จะถูกพระบิดาดุด่าอย่างไร องค์หญิงก็ไม่เคยนึกโกรธเคืองแต่อย่างใด  ต่อมาองค์หญิงสามได้ถูกขับไปทำงานหนักในสวนดอกไม้ เช่น หาบน้ำ ปลูกดอกไม้ ทั้งนี้เพื่อทรมานให้เปลี่ยนความตั้งใจ แต่ก็มีเหล่ารุกขเทวดามาช่วยทำแทนให้ทั้งหมด พระบิดาเมื่อเห็นว่าไม่ได้ผล จึงรับสั่งให้หัวหน้าแม่ชี นำองค์หญิงสามไปอยู่ที่วัดนกยูงขาว และให้เอางานของแม่ชีทั้งวัดมอบให้องค์หญิงทำคนเดียว แต่องค์หญิงมีพระทัยเด็ดเดี่ยว ไม่เกี่ยงงานการต่างๆ ก็มีเหล่าเทพารักษ์มาช่วยทำแทนให้อีก พระเจ้าเมี่ยวจวงเข้าพระทัยว่า พวกแม่ชีไม่กล้าเคี่ยวเข็ญใช้งานหนัก ก็ยิ่งทรงกริ้วหนักขึ้น สั่งให้ทหารเผาวัดนกยูงขาวจนวอดเป็นจุณไป พร้อมกับพวกแม่ชีทั้งวัด มีแต่เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านเท่านั้นที่ปลอดภัยรอดชีวิตมาได้
        พระเจ้าเมี่ยวจวงทรงทราบดังนั้น จึงรับสั่งให้นำตัวราชธิดาไปประหารชีวิต เทพารักษ์คอยคุ้มครองเจ้าหญิงอยู่ โดยเนรมิตทองทิพย์เป็นเกราะห่อหุ้มตัว คมดาบของนายทหารจึงไม่อาจระคายพระวรกาย ดาบหักถึง 3 ครั้ง 3 ครา พระบิดาทรงกริ้วยิ่งนัก โดยเข้าพระทัยว่านายทหารไม่กล้าประหารจริง จึงให้ประหารนายทหารแทน แล้วรับสั่งให้จับเจ้าหญิงไปแขวนคอ ทว่าผ้าแพรที่แขวนคอก็ขาดสะบั้นลงอีก


                ทันใดนั้นปรากฏมีเสือเทวดาตัวหนึ่งได้นำเจ้าหญิงขึ้นพาดหลังแล้วเผ่นหนีไปที่เขาเซียงซัน ต่อมา เทพไท่ไป๋ได้แปลงร่างเป็นชายชรามาโปรดเจ้าหญิง ชี้แนะเคล็ดวิธีการบำเพ็ญเพียรเครื่องดับทุกข์ จนสามารถบรรลุมรรคผลสำเร็จธรรม วันที่ 19 เดือน 6 ข้างฝ่ายพระบิดาเข้าพระทัยว่า เจ้าหญิงถูกเสือคาบไปกินเสียแล้ว จึงไม่ได้ติดใจตามราวีอีก   ต่อมาไม่นานบาปกรรมที่พระองค์ก่อไว้ส่งผล เกิดป่วยด้วยโรคร้ายแรง ไม่มียารักษาให้หายได้ เจ้าหญิงเมี่ยวซ่านได้ทรงทราบด้วยญาณวิถีว่า พระบิดากำลังประสบเคราะห์กรรมอย่างหนัก ด้วยความกตัญญูกตเวทีเป็นเลิศ มิได้ถือโทษโกรธการกระทำพระบิดาแม้แต่น้อย ทรงได้สละดวงตาและแขนสองข้าง เพื่อรักษาพระบิดาจนหายจากโรคร้าย ว่ากันว่า ภายหลังสำเร็จอรหันต์ ได้ดวงตาและพระกรคืน เคยแสดงปาฏิหาริย์เป็นปางกวนอิมพันมือ องค์หญิงเมี่ยวซ่านนั้น ตอนแรกเป็นชาวพุทธ ตอนหลังเทพไท่ไป๋ได้มาโปรด ชี้แนะหนทางดับทุกข์ เหตุนี้พระโพธิสัตว์กวนอิมจึงเป็นเทพทั้งฝ่ายพุทธและฝ่ายเต๋าในเวลาเดียวกัน

         

พระนางมารีอา

พระนางมารีอา


               มารีย์ คริสต์ศาสนิกชนบางนิกายเรียกว่าพระแม่มารีย์ พระนางมารีย์พรหมจารี  หรือพระนางมารีย์พระชนนีพระเป็นเจ้า เป็นสตรีชาวยิวจากเมืองนาซาเรธ แคว้นกาลิลี คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่และคัมภีร์อัลกุรอานระบุตรงกันว่านางได้เป็นมารดาของพระเยซูโดยอำนาจของพระเจ้า
      พระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูการะบุว่ามารีย์เป็นหญิงพรหมจรรย์ ชาวคริสต์เชื่อสืบกันมาแต่อดีตว่านางได้ตั้งครรภ์บุตรด้วยอำนาจพระวิญญาณบริสุทธิ์ขณะที่ยังเป็นหญิงพรหมจรรย์ ส่วนชาวมุสลิมก็เชื่อว่านางตั้งครรภ์ด้วยโองการของพระเจ้า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อนางได้หมั้นหมายกับนักบุญโยเซฟแล้วและอยู่ระหว่างรอพิธีแต่งงาน เมื่อนางได้แต่งงานกับโยเซฟแล้วก็ย้ายไปอยู่ที่เมืองเบธเลเฮมซึ่งได้เป็นที่ประสูติพระเยซู ตามธรรมเนียมยิวการหมั้นน่าจะเกิดขึ้นเมื่อนางอายุราว 12 ปีแล้วให้กำเนิดพระเยซูในหนึ่งปีหลังจากนั้น

       
       คัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่เริ่มกล่าวถึงนางด้วยเหตุการณ์แม่พระรับสาร เมื่อทูตสวรรค์กาเบรียลมาปรากฏกายต่อหน้านาง แล้วแจ้งว่าพระเจ้าทรงเลือกนางให้เป็นมารดาของพระเยซู คริสตจักรและข้อเขียนนอกพระคัมภีร์ในยุคแรกยังระบุว่าบิดามารดาของนางเป็นคู่สามีภรรยาสูงอายุชื่อนักบุญโยอาคิมและนักบุญอันนา คัมภีร์ไบเบิลบันทึกถึงบทบาทของนางในชีวิตของพระเยซูตั้งแต่การตั้งครรภ์พระองค์จนถึงพระองค์เสด็จขึ้นสวรรค์ ข้อเขียนจากคัมภีร์นอกสารบบยังกล่าวว่าหลังจากมรณกรรมนางได้รับการยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณด้วย
        ชาวโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน เชื่อว่ามารีย์ในฐานะที่เป็นมารดาของพระเยซูย่อมถือว่าเป็นพระมารดาพระเจ้า  ด้วย ซึ่งตามตัวอักษร แปลว่าผู้ให้กำเนิดพระเจ้า พระแม่มารีย์เป็นที่เคารพนับถือมาตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรก  ตลอดยุคสมัยนางได้เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดงานศิลปะ ดนตรี และวรรณกรรมมากมายในคริสต์ศาสนา

       คริสต์ศาสนานิกายต่าง ๆ จะมีความเชื่อและหลักปฏิบัติที่แสดงถึงเลื่อมใสต่อพระแม่มารีย์แตกต่างกัน ไป คริสตจักรโรมันคาทอลิกมีหลักความเชื่อเกี่ยวกับพระแม่มารีย์โดยเฉพาะ เช่น การปฏิสนธินิรมล การถูกรับขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ ชาวคาทอลิกเรียกนางว่าแม่พระหรือพระแม่เจ้า และมีการแสดงความเคารพต่อนางด้วยเชื่อว่านางเป็นราชินีสวรรค์และมารดาคริสตจักร แต่ชาวโปรเตสแตนต์ส่วนมากไม่ยอมรับความเชื่อเหล่านี้ ทั้งเห็นว่านางมีบทบาทเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในคริสต์ศาสนา เพราะคัมภีร์ไบเบิลเองก็กล่าวถึงนางเพียงสั้น ๆ